ปูนเกร้าท์กับงานซ่อมแซม
ปูนเกร้าท์กับงานซ่อมแซม
ปูนเกร้าท์กับงานซ่อมแซม
ปูนเกร้าท์ , ปูนนอนชริ้งค์ , ปูนนอนชริ้งค์ เกร้าท์ , ปูนรับแรง หรือปูนไม่หดตัว ทั้งหมดนี้คือตัวเดียวกัน การใช้งานก็เหมือนกัน แต่ในความเหมือนก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ คือ การรับแรงที่ต่างกัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเราหาข้อมูลในGoogle มันจึงมีสินค้าหลายตัว
หน้าที่ของปูนเกร้าท์
หลักๆเลยคือ เอาไว้ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตทั้งพื้น เสา คาน เทเสาหรือฐานคอนกรีตที่ต้องรับแรงอัดมากๆ ซึ่งปูนซีเมนต์ทั่วไปไม่สามารถรับน้ำหนักได้ หรือกรณีที่แกะแบบแล้วเสาหรือคาน มีผิวที่ไม่เรียบร้อย ก็สามารถใช้ปูนเกร้าท์นี้ในการซ่อมแซมเก็บงานได้
*จากรูป สังเกตที่ฐานเสา ก็ใช้ปูนนอนชริ้งค์ เกร้าท์ ในการหล่อฐานเสาขึ้นมา หน้างานโรงแรมบางสัก เมอร์ลิน จ.พังงา
การใช้งานคือ การเทพื้นหรือเทฐานเสาเพื่อหล่อ ทำให้คุณสมบัติอย่างหนึ่งของปูนเกร้าท์ คือ มีความเหลวและพอแห้งตัวแล้วจะไม่หดตัวเหมือนปูนทั่วไป จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง จะใช้ปูนนอนชริ้งค์ที่มีกำลังอัดหรือการรับแรงที่เท่าไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสเปกการใช้งาน โดยอาจแบ่งตามการรับแรงได้ดังนี้
- รับแรงที่ 700 Ksc. ที่นิยมใช้คือ Lanko 701 คลาเวกซ์ , จระเข้ 621 แสตนดาร์ต เกร้าท์ ,จระเข้ จีพี เกร้าท์, Fixit Pidigrout 5M และ ซิก้าเกร้าท์ 214-11 หรือ ซิก้า พ๊อกเก็ต เกร้าท์
- รับแรงมากกว่า 700 ksc. คือ Lanko 702 คาลฟาร์จ(950 ksc.) , จระเข้ นอน-เฟอรัส, นอน-ชริ้งค์เกร้าท์(850 ksc.), Fixit Pidigrout 10M(950 ksc.) และ ซิก้าเกร้าท์ 212 HP
แล้วถ้าต้องการซ่อมเสาหรือคานล่ะ ปูนเกร้าท์ที่เหลวจะยึดเกาะเสาหรือคานได้อย่างไร? ถูกต้อง!! เราจึงต้องมีปูนเกร้าท์อีกประเภทที่มีเนื้อปูนที่ข้นเหนียวเพื่อมาใช้ในงานซ่อมเสาหรือคาน ซึ่งจะแบ่งประเภทการใช้งานโดยดูที่ความหนาของแผลคอนกรีตนั้น
- ถ้าแผลมีความลึก 5-50 มม. ตัวที่แนะนำคือ Lanko 731 เรพ สตรัคเจอร์ , จระเข้ รีแพร์ มอร์ต้า หรือ จระเข้ อะคริลิค แพทช์
- ถ้าแผลลึก 2-35 มม. แนะนำใช้ Lanko 732 เรพ ฟาซาด , จระเข้ เฟทเทอร์ แพทช์
- กรณีเป็นงานเร่งด่วน คือ จระเข้ ฟาสท์ แพทช์ 928
สิ่งที่จะมาคู่กับการใช้ปูนเกร้าท์นั้นคือ น้ำยาประสานคอนกรีต เพราะการที่จะยึดคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่นั้น ต้องมีตัวเชื่อม จะเอาปูนไปติดโดยตรงคงไม่ได้แน่ๆ โดยในท้องตลาดมีหลายหลายยี่ห้อมาก แต่ในที่นี้เราจะแนะนำอยู่ 5 ยี่ห้อ คือ Lanko 751 ลาเท็กซ์ , Sika Latex , จระเข้ ลาเท็กซ์ , Weber neo Latex , TOA112 Super Bond ซึ่งทุกตัวที่กล่าวมานี้ มีหน้าที่สำคัญคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่าและคอนกรีตใหม่
ทริกเล็กๆในการใช้งานปูนเกร้าท์ในงานพื้น ถ้าต้องการเทพื้นต้องเทให้หนามากกว่า 2.5 ซม. เพราะถ้าบางกว่านั้น ปูนจะไม่สามารถยึดเกาะกับพื้นคอนกรีตเดิมได้
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้พบเห็นจากการออกตลาดมาหลายๆปี พบว่าปัจจุบันนี้ในท้องตลาดจะมีสินค้าในกลุ่มปูนนอนชริ้งค์ เกร้าท์ ออกมาใหม่หลายยี่ห้อ ซึ่งมีทั้งที่ตรงและไม่ตรงคุณสมบัติ บางยี่ห้อราคาถูกมากจนน่าตกใจ และจากการสอบถามลูกค้าที่เป็นผู้รับเหมามานั้นก็พบว่า ผู้รับเหมายินดีที่จะใช้สินค้าที่มีมาตรฐานมาก่อนเรื่องราคาเนื่องจาก ในส่วนงานที่ต้องใช้ปูนนอนชริ้งค์ เกร้าท์นั้น จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
หากลูกค้าท่านใดสนใจสินค้า ปูนกาว ยาแนว เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง หรือสินค้าอื่นใดที่ทางเรามีจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ 084-1288835
หากท่านคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ ท่านสามารถแชร์บทความนี้ได้เลย
เขียน/เรียบเรียง : https://home1click.com
12 กรกฎาคม 2563
ผู้ชม 14774 ครั้ง