จระเข้ เฟล็กซ์ชิลด์

หมวดหมู่สินค้า: ระบบกันซึม
รหัส :
2,500บาท ลดทันที 200 บาท
ราคา 2,300บาท

17 พฤศจิกายน 2566

ผู้ชม 10079 ผู้ชม

จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์

ซีเมนต์ทากันซึมชนิดยืดหยุ่น (ชนิดส่วนผสมเดียว)

  • มีความอ่อนตัวสูง ปกปิดรอยร้าวได้ดี สำหรับพื้นผิวที่มีการเคลื่อนตัวไม่เกิน 0.75 มม.

  • ปล่อยเปลือยได้ ทนรังสี UV ทนต่อสภาวะอากาศได้ดี

  • สามารถทนแรงดันน้ำได้มากกว่า1.5 bar โดยไม่รั่วซึม

  • ไม่มีสารพิษ (Non-toxic) สามารถใช้เก็บน้ำดื่มและทาผนังพื้นบ่อเลี้ยงปลาได้

  • สามารถทาสีทับ หรือปูกระเบื้องทับได้

  • แรงยึดเกาะสูง สามารถแปลงผิวให้เป็นคอนกรีตได้ เช่น โลหะ โฟม ไม้ พลาสติก เป็นต้น

ลักษณะการใช้งาน
เหมาะสำหรับงานกันซึมในงานซีเมนต์ทั่วไป และอื่น ๆ เช่น ดาดฟ้า หลังคา ระเบียง ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างเก็บน้ำ แท็งค์เก็บน้ำ บ่อเลี้ยงปลา อุโมงค์ ห้องใต้ดิน วางแผ่นทางเดิน (Solar slab) ดาดฟ้า เพื่อทำสวนลอยฟ้า พื้นที่ที่มีโอกาสขยับเคลื่อนไหว ทาก่อนปูกระเบื้อง หรือทาทับหน้าบนโครงสร้าง ทาทับกระเบื้องเดิมที่รั่วซึมก่อนปูกระเบื้องใหม่ทับได้ (โดยไม่ต้องรื้อกระเบื้อง) ทาบนวัสดุ เช่น โลหะ ไม้ เรซิ่น โฟม เพื่อเปลี่ยนพื้นผิวเป็นคอนกรีตก่อนปูกระเบื้องหรือตกแต่ง

มาตรฐาน           : EN 14891, EN1346
สีของผลิตภัณฑ์  : สีเทา สีขาว สีเขียว สีฟ้า สีดำ
ขนาดบรรจุ : 1 กก. / 4 กก. / 20 กก.

จระเข้ เฟล็กช์ ชิลด์ เป็นซีเมนต์ทากันซึมชนิดยืดหยุ่น แบบส่วนผสมเดียว ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำ ทนต่อสภาวะอากาศได้ดี ปล่อยเปลือยได้ ทนรังสี UV มีคุณสมบัติในการปิดรอยร้าวได้ดี สามารถใช้ในพื้นที่ที่มีโอกาส ขยับเคลื่อนไหว ผิวงานที่เสร็จแล้วมีความคงทน ไม่หลุดล่อน มีแรงยึดเกาะที่ดี ไม่มีสารพิษ

การเตรียมพื้นผิว

  • พื้นผิวจะต้องสะอาดปราศจากฝุ่น เศษปูน น้ำมัน หรือวัสดุแปลกปลอมอื่นๆ
  • หากพื้นผิวมีรอยแตกร้าว ควรซ่อมรอยแตกร้าวก่อน โดยใช้วัสดุซ่อมแซมที่เหมาะสม
  • พรมน้ำลงบนพื้นผิว เพื่อลดความร้อนจากพื้นผิว ก่อนทาจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์

อัตราส่วนผสม
จระเข้ เฟล็กช์ ชิลด์ 2.5 กก. ต่อ น้ำ 1 ลิตร หรือ 
จระเข้ เฟล็กช์ ชิลด์ 2.5-2.7 ส่วน ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร
การผสม

  • นำ จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ เทลงในน้ำ ผสมตามอัตราส่วนที่กำหนดปั่นด้วยสว่านความเร็วรอบต่ำ ประมาณ 150 รอบต่อนาที (150 rpm) ผสมให้เข้ากัน
  • หลังจากผสมแล้วความใช้งานให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง เมื่อส่วนผสมเริ่มแข็งตัว ห้ามเติมน้ำแล้วนำกลับมาใช้งาน ควรทิ้งแล้วผสมใหม่

การใช้งาน

  1. ใช้แปรงหรือลูกกลิ้ง ทาลงบนพื้นผิวให้ทั่ว 2 รอบ
  2. โดยในกาารทารอบที่ 2 หลังจากทาครั้งแรกแห้ง 30-90 นาที และให้ทาในทิศทางตั้งฉากกับรอบแรก
  3. หลังจากทาแล้วควรปกป้องพื้นผิวไม่ให้โดนน้ำ 3 วัน
  4. การปูกระเบื้องบนพื้นผิวควรทำหลังจากปล่อยให้พื้นผิวแห้งตัวอย่างน้อย 3 วัน
  5. ในกรณีที่ต้องการให้พื้นแช่น้ำ ควรปล่อยให้พื้นผิวแห้งตัวอย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

อัตราการใช้
1-1.5 กก. / ตร.ม. / 2 เที่ยว
ข้อจำกัดการใช้
กรณีทาบนพื้นผิวที่ไม่ดูดซึมหรือซีเมนต์ขัดมันแรงยึดเกาะจะลดลงหากมีการขัดถูในขณะแช่น้ำ
ข้อควรระวัง

  • ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และสารผสมเพิ่มอื่นๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยต่างๆ เช่น ถุงมือ หน้ากากกันฝุ่น แว่นตา ฯลฯ
  • ในกรณีเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ทันที และรีบปรึกษาแพทย์
  • ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก

การเก็บรักษา

  • ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • อายุของผลิตภัณฑ์ 1 ปี นับจากวันที่ผลิตในสภาพยังไม่เปิดถุงใช้ (ถ้าหากใช้ไม่หมดถุงต้องมัดปากถุงให้แน่นสนิททุกครั้ง)

  *ได้รับอนุญาตให้ใช้รูปภาพสินค้าและข้อมูลสินค้าจากบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว*

 

สินค้าใกล้เคียง 

แลงโก้ 227       แลงโก้ 226            จระเข้ เพอร์เฟค ชิลล์        ดร.ฟิคสิท พิดิฟิน 2เค

แลงโก้ 227                                   แลงโก้ 226                                  จระเข้ เพอร์เฟค ชิลล์                  ดร.ฟิคสิท พิดิฟิน 2เค

 

เรื่องของกันซึม !!

        ผลิตภัณฑ์กันซึมในปัจจุบันนี้พัฒนาไปมาก มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด  จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ที่พบมีอยู่ 5 ประเภท

1.กันซึมเบสซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ออกจากโรงงานมาเหมือนถุงปูนทั่วไป การใช้งานคือผสมปูนกันซึมกับน้ำตามอัตราส่วนข้างถุง ผสมให้เข้ากันโดยใช้หัวปั่นก่อนแล้วจึงนำไปใช้ แบ่งได้ 2 แบบ

  1. กันซึมเบสซีเมนต์ชนิดไม่ยืดหยุ่น ใช้งานด้วยการทาบนพื้นผิว (Coating)บางชนิดมีความสามารถในการตกผลึกแทรกเข้าไปอยู่ตามรอยแตกบนผิวคอนกรีต แต่มีข้อจำกัดตามชื่อเลย คือ ไม่ยืดหยุ่น หากบริเวณพื้นที่ที่นำไปทานั้น มีแรงสั่นสะเทือนมาก ก็จะทำให้ตัวซีเมนต์กันซึมเกิดรอยแครกได้ กันซึมชนิดไม่ยืดหยุ่นปัจจุบันไม่ค่อยพบในตลาดแล้ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาเป็นกันซึมชนิดยืดหยุ่น
  2. กันซึมเบสซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่น คุณสมบัติทุกอย่างเหมือนกันซึมชนิดไม่ยืดหยุ่น ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ ความยืดหยุ่น  สามารถใช้กับทั้งงานโครงสร้างที่มีการสั่นสะเทือน ระเบียง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา ห้องน้ำ ให้การยืดหยุ่นดีและในบางรุ่นสามารถใช้ทาทับบนพื้นผิวกระเบื้องเดิมได้ด้วย มีให้เลือกใช้ 2 แบบ
    1. แบบ 2 ส่วนผสม (Part A & Part B หรือ 2K) : TOA :237 Cement Membrane , จระเข้ : Flex 2K , LANKO 226 Flex LANKO 225 และ LANKO 228 Super Flex เป็นต้น
    2. แบบส่วนผสมเดียว (1K) : TOA : Floor Seal & WaterBloc, จระเข้  Flex Shield และ LANKO : 227 Flex Shield เป็นต้น

กันซึมดาดฟ้า ปูหญ้าเทียมทับ

*งานทำกันซึมดาดฟ้าร้านโกปี๊ เฮี้ยะไถ่กี่ วิสุทธิกษัตริย์ ปูทับด้วยหญ้าเทียม ใช้จระเข้  Flex Shield 

 

งานทำกันซึม บางสักเมอร์ลิน

*งานทำกันซึม/ทำฐานราก โรงแรมBANGSAK MERLIN RESORT 

 

2.กันซึมเบสของเหลว ง่ายๆเลยคือ เปิดฝาถังมา ใช้ได้เลย เป็นกันซึมสำเร็จรูป มีหลายสี(ขึ้นกับแต่ละยี่ห้อว่าผลิตออกมากี่สี) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. กันซึมอะคริลิค เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ (ส่วนผสมเดียว) ยึดเกาะดี ป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตได้ดี ให้ความยืดหยุ่นสูงกว่าชนิดซีเมนต์ ใช้งานง่าย ทนต่อรังสี UV ได้ดี  แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองพบว่า ไม่เหมาะในพื้นที่ที่มีการขังน้ำเป็นเวลานาน(ถ้าน้ำไหลผ่าน ไม่เป็นปัญหา) เนื่องจากความชื้นสะสมดันตัวขึ้นมาทำให้กันซึมพองตัวและหลุดล่อนได้ ผลิตภัณฑ์ที่พบในตลาด เช่น TOA : Roof Seal , จระเข้ : Roof Shield , LANKO : 451 : Sovacryl , LANKO 452 SOVACRYL WALL และ LANKO 401 SOLAR TAC(ตัวนี้มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน)
  2. กันซึมโพลียูริเทน จะเหมือนกันกับกันซึมอะคริลิค เพียงแต่มีความทนทานและยืดหยุ่นมากกว่า และมีข้อจำกัดเช่นเดียวกันในเรื่องไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีการขังน้ำ และมีราคาสูงกว่า เช่น LANKO 453 POLYURETHANE , จระเข้ อิลาสติก ชิลด์ เป็นต้น

 

3.น้ำยากันซึม ต้องบอกว่าเป็นระบบกันซึมที่เก่าแก่ที่สุดในบ้านเรา คือ การใช้น้ำยากันซึมเทผสมเข้าไปกับปูนซีเมนต์ตอนทำโครงสร้าง ซึ่งน้ำยากันซึมจะช่วยลดรูพรุนในเนื้อปูน ทำให้น้ำไหลเข้าไปไม่ได้

4. กันซึมแบบเมมเบรน เป็นกันซึมอีกชนิดที่พบเห็นอยู่ เป็นแผ่นยางกันซึม บางเรียกว่า Bitumen เป็นแผ่นยางที่มีความหนา ยืดหยุ่น ทดแดด การติดตั้งต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ การทำกันซึมประเภทนี้ต้องทำความสะอาดพื้นผิวเหมือนเช่นการทำกันซึมทั่วไป แล้วทาน้ำยาพาร์มเมอร์ทั่วพื้นที่ทำหน้าที่เป็นกาวประสานแผ่นเมมแบรน โดยมีระยะทับซ้อน 5-10 ซม. ระหว่างติดตั้งต้องใช้เครื่องพ่นไฟ พ่นไฟลงไปที่แผ่นเมมเบรน

5. แผ่นปิดรอยต่อ หรือเรียกว่า บิวทิล เทป มักเห็นในงานวางครอบกระเบื้องหลังคาหรือใช้ปิดจุดรั่วซึมที่เห็นได้ชัดเจน มักพบบริเวณรอยต่อคอนกรีต

6. ฟลินท์โค้ท เป็นอีกกันซึมชนิดที่อยู่ในบ้านเรามานาน ยางมะตอยอิมัลชั่นสูตรน้ำ สำหรับทาซ่อมอุดรอยแตก หรือทาเคลือบผิวเพื่อป้องกันการรั่วซึม ข้อดีของกันซึมชนิดนี้คือ ใช้งานง่าย แต่มีข้อจำกัดเรื่องสี กันซึมจะมีสีดำ แล้วควรใช้คู่กับผ้าดิบ

 

        จริงๆแล้วยังมีผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานกันซึมอยู่อีก เช่น เทปกาวบิวทิว , ตาข่ายไฟเบอร์ (FiberMesh) , ยาแนวซิลิโคน , ยาแนวกาวพียู ซึ่งจะขอเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป ในหัวข้อ วัสดุอุดรอยต่อ

 

หากลูกค้าท่านใดสนใจสินค้า ปูนกาว ยาแนว เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง หรือสินค้าอื่นใดที่ทางเรามีจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ 084-1288835

หากท่านคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ ท่านสามารถแชร์บทความนี้ได้เลย

เขียน/เรียบเรียง : https://home1click.com

Engine by shopup.com