จระเข้ รูฟชิลด์

หมวดหมู่สินค้า: ระบบกันซึม
รหัส :
3,650บาท ลดทันที 350 บาท
ราคา 3,300บาท

17 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 4699 ผู้ชม

จระเข้ รูฟ ชิลด์

อะคริลิคทากันซึม และสะท้อนความร้อนสำหรับหลังคาดาดฟ้าที่ลาดเอียง

    • อะคริลิกคุณภาพสูง ทนทานแช่น้ำขังได้นานขึ้น ทน UV

    • สะดวก ใช้งานง่าย เปิดฝาใช้ได้ทันที

    • ยืดหยุ่นตัวสูงกว่า 500% ปกปิดรอยแตกลายงา

    • ผสมสารเคมีพิเศษ ช่วยสะท้อนรังสือความร้อนได้ 55 - 88% ทั้งสีอ่อนและเข้ม ลดความร้อนสะสมเข้าอาคาร ลดอุณหภูมิภายใน 2 - 6 องศา เมื่อเทียบกับกันซึมทั่วไป

    • สามารถผสมสีหรือทาสีทับได้

    • ยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย

    ลักษณะการใช้งาน
    เหมาะสำหรับกันซึมดาดฟ้าที่ระบายน้ำได้ดี หลังคาคอนกรีต หลังคาเหล็ก รอยต่อบัวกันน้ำ ครอบสันหลังคา และหมาะกับการทาปกปิดรอยแตกลายงาผนังอาคาร ทากลบรอยต่อผนังที่อุดด้วย ซีลแลนท์ สามารถยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย เช่น คอนกรีต ปูนฉาบ พลาสติก PVC เหล็ก สังกะสี อลูมิเนียม กระเบื้องมุงหลังคา พื้นแผ่นยางมะตอย ไม้ อิฐ และอื่นๆ 
    มาตรฐาน           : EN 1348, JIS R3106
    สีของผลิตภัณฑ์  : สีขาว สีเทา
    ขนาดบรรจุ : 1 กก. / 4 กก. / 20 กก.

จระเข้ รูฟ ชิลด์ วัสดุทากันซึม ชนิดอะคริลิกสำเร็จรูปพร้อมใช้ สำหรับทากันซึมดาดฟ้า หลังคา หรือผนัง เมื่อแห้งตัวจะมีลักษณะเหมือนแผ่นยางบางๆ ป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มีความยืดหยุ่นสูง ด้วยส่วนผสมพิเศษที่ช่วยในการสะท้อนรังสีความร้อน (Total Solar Reflective : TSR) 50-80% ลดความร้อนสะสมเข้าอาคาร ทำให้อุณหภูมิลดลงดีกว่าอะคริลิกทั่วไป 2-6 °C เหมาะสำหรับใช้กันซึมพื้นที่กว้าง ๆ และบริเวณ รอยต่อ รอยแตกเส้นเล็ก ๆ (< 1.5 มม.)

การเตรียมพื้นผิว

  • พื้นผิวที่ต้องการทากันซึมต้องสาด ปราศจากฝุ่น เศษปูน น้ำมัน และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ
  • หากพื้นผิวมีรอยแตกราว ควรซ่มรอยแตกราวก่อน โดยใช้วัสดุซ่อมแซมที่เหมาะสม ทำการอุดบริเวณขอบร่อง ต่อชน ผนังกำแพงด้วยซีลแลนท์
  • ควรปล่อยพื้นผิวให้แห้งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลังทำความสะอาด
  • พื้นหรือผนังคอนกรีตใหม่ ควรมีอายุอย่างน้อย 28 วัน ก่อนทำงาน
  • บนผิวปูนฉาบใหม่ ควรมีอายุอย่างน้อย 7 วัน ก่อนทำงาน
  • วัสดุที่อมความชื้นต้องทิ้งให้แห้งสนิทก่อนทำงาน

การใช้งาน

  1. ควรกวนจระเข้ รูฟ ชิลด์ ให้เข้ากันก่อนใช้งาน
  2. กรณีพื้นผิวขรุขระ รูพรุน ควรช้จระเข้ รูฟ ชิลด์ผสมน้ำ 5–10 % ทาเป็นรองพื้นชั้นแรก
  3. ใช้แปรงหรือลูกกลื้ง ทาจระเข้รูฟ ชิลด์ให้ทั่ว 2 รอบ
  4. หลังจากการทารอบแรกแล้วควรปล่อยให้แห้ง 4 ชั่วโมง ก่อนทารอบที่ 2
  5. กรณีจำเป็นต้องเสริมแรงด้วยไฟเบอร์ ให้ปูแผ่นตาข่ายไฟเบอร์ไว้ระหว่างชั้นแรกและชั้นที่สอง ในขณะชั้นแรกยังไม่แห้ง แนะนำให้ทาชั้นที่สอง ทับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เนื้อฟิมล์กลบแผ่นตาข่ายไฟเบอร์ได้สนิท
  6. หลังจากทาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรปกป้องพื้นผิวอย่างน้อย 48 ชั่วโมง

อัตราการใช้

1.2 กก. / ตร.ม. / 2 เที่ยว (ความหนาประมาณ 0.2-0.4 มม.)
ทารองพื้น ประมาณ 0.6 กก. / ตร.ม. (ผสมน้ำ 10%)

ข้อจำกัดการใช้

  • หลังคา หรือดาดฟ้า ควรทำระดับลาดเอียงป้องกันน้ำขัง
  • ห้ามใช้ในบริเวณที่แช่น้ำตลอดเวลา หรือมีน้ำซึมจากพื้นผิวด้านล่าง

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรทำงานกลางแดดจัด พื้นผิวที่ร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 10-35 °C
  • ล้างเครื่องมือด้วยน้ำหลังการใช้งานทุกครั้ง
  • ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก

การเก็บรักษา

  • ควรเก็บไว้ในที่แห้ง และอุณหภูมิที่ไม่สูงจนเกินไปเพราะอาจทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อม
  • อายุของผลิตภัณฑ์ 1 ปีนับจากวันที่ผลิตในสภาพยังไม่เปิด

  *ได้รับอนุญาตให้ใช้รูปภาพสินค้าและข้อมูลสินค้าจากบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว*

 

สินค้าใกล้เคียง

แลงโก้ 451             https://home1click.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-22192-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%89-453-%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99.html          จระเข้ อีลาสติก ชิลล์         แลงโก้ 401

แลงโก้ 451                                         แลงโก้ 435                                        จระเข้ อีลาสติก ชิลล์                          แลงโก้ 401

 

เรื่องของกันซึม !!

        ผลิตภัณฑ์กันซึมในปัจจุบันนี้พัฒนาไปมาก มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด  จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ที่พบมีอยู่ 5 ประเภท

1.กันซึมเบสซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ออกจากโรงงานมาเหมือนถุงปูนทั่วไป การใช้งานคือผสมปูนกันซึมกับน้ำตามอัตราส่วนข้างถุง ผสมให้เข้ากันโดยใช้หัวปั่นก่อนแล้วจึงนำไปใช้ แบ่งได้ 2 แบบ

  1. กันซึมเบสซีเมนต์ชนิดไม่ยืดหยุ่น ใช้งานด้วยการทาบนพื้นผิว (Coating)บางชนิดมีความสามารถในการตกผลึกแทรกเข้าไปอยู่ตามรอยแตกบนผิวคอนกรีต แต่มีข้อจำกัดตามชื่อเลย คือ ไม่ยืดหยุ่น หากบริเวณพื้นที่ที่นำไปทานั้น มีแรงสั่นสะเทือนมาก ก็จะทำให้ตัวซีเมนต์กันซึมเกิดรอยแครกได้ กันซึมชนิดไม่ยืดหยุ่นปัจจุบันไม่ค่อยพบในตลาดแล้ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาเป็นกันซึมชนิดยืดหยุ่น
  2. กันซึมเบสซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่น คุณสมบัติทุกอย่างเหมือนกันซึมชนิดไม่ยืดหยุ่น ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ ความยืดหยุ่น  สามารถใช้กับทั้งงานโครงสร้างที่มีการสั่นสะเทือน ระเบียง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา ห้องน้ำ ให้การยืดหยุ่นดีและในบางรุ่นสามารถใช้ทาทับบนพื้นผิวกระเบื้องเดิมได้ด้วย มีให้เลือกใช้ 2 แบบ
    1. แบบ 2 ส่วนผสม (Part A & Part B หรือ 2K) : TOA :237 Cement Membrane , จระเข้ : Flex 2K , LANKO 226 Flex LANKO 225 และ LANKO 228 Super Flex เป็นต้น
    2. แบบส่วนผสมเดียว (1K) : TOA : Floor Seal & WaterBloc, จระเข้  Flex Shield และ LANKO : 227 Flex Shield เป็นต้น

กันซึมดาดฟ้า ปูหญ้าเทียมทับ

*งานทำกันซึมดาดฟ้าร้านโกปี๊ เฮี้ยะไถ่กี่ วิสุทธิกษัตริย์ ปูทับด้วยหญ้าเทียม ใช้จระเข้  Flex Shield 

 

งานทำกันซึม บางสักเมอร์ลิน

*งานทำกันซึม/ทำฐานราก โรงแรมBANGSAK MERLIN RESORT 

 

2.กันซึมเบสของเหลว ง่ายๆเลยคือ เปิดฝาถังมา ใช้ได้เลย เป็นกันซึมสำเร็จรูป มีหลายสี(ขึ้นกับแต่ละยี่ห้อว่าผลิตออกมากี่สี) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. กันซึมอะคริลิค เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ (ส่วนผสมเดียว) ยึดเกาะดี ป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตได้ดี ให้ความยืดหยุ่นสูงกว่าชนิดซีเมนต์ ใช้งานง่าย ทนต่อรังสี UV ได้ดี  แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองพบว่า ไม่เหมาะในพื้นที่ที่มีการขังน้ำเป็นเวลานาน(ถ้าน้ำไหลผ่าน ไม่เป็นปัญหา) เนื่องจากความชื้นสะสมดันตัวขึ้นมาทำให้กันซึมพองตัวและหลุดล่อนได้ ผลิตภัณฑ์ที่พบในตลาด เช่น TOA : Roof Seal , จระเข้ : Roof Shield , LANKO : 451 : Sovacryl , LANKO 452 SOVACRYL WALL และ LANKO 401 SOLAR TAC(ตัวนี้มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน)
  2. กันซึมโพลียูริเทน จะเหมือนกันกับกันซึมอะคริลิค เพียงแต่มีความทนทานและยืดหยุ่นมากกว่า และมีข้อจำกัดเช่นเดียวกันในเรื่องไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีการขังน้ำ และมีราคาสูงกว่า เช่น LANKO 453 POLYURETHANE , จระเข้ อิลาสติก ชิลด์ เป็นต้น

 

3.น้ำยากันซึม ต้องบอกว่าเป็นระบบกันซึมที่เก่าแก่ที่สุดในบ้านเรา คือ การใช้น้ำยากันซึมเทผสมเข้าไปกับปูนซีเมนต์ตอนทำโครงสร้าง ซึ่งน้ำยากันซึมจะช่วยลดรูพรุนในเนื้อปูน ทำให้น้ำไหลเข้าไปไม่ได้

4. กันซึมแบบเมมเบรน เป็นกันซึมอีกชนิดที่พบเห็นอยู่ เป็นแผ่นยางกันซึม บางเรียกว่า Bitumen เป็นแผ่นยางที่มีความหนา ยืดหยุ่น ทดแดด การติดตั้งต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ การทำกันซึมประเภทนี้ต้องทำความสะอาดพื้นผิวเหมือนเช่นการทำกันซึมทั่วไป แล้วทาน้ำยาพาร์มเมอร์ทั่วพื้นที่ทำหน้าที่เป็นกาวประสานแผ่นเมมแบรน โดยมีระยะทับซ้อน 5-10 ซม. ระหว่างติดตั้งต้องใช้เครื่องพ่นไฟ พ่นไฟลงไปที่แผ่นเมมเบรน

5. แผ่นปิดรอยต่อ หรือเรียกว่า บิวทิล เทป มักเห็นในงานวางครอบกระเบื้องหลังคาหรือใช้ปิดจุดรั่วซึมที่เห็นได้ชัดเจน มักพบบริเวณรอยต่อคอนกรีต

6. ฟลินท์โค้ท เป็นอีกกันซึมชนิดที่อยู่ในบ้านเรามานาน ยางมะตอยอิมัลชั่นสูตรน้ำ สำหรับทาซ่อมอุดรอยแตก หรือทาเคลือบผิวเพื่อป้องกันการรั่วซึม ข้อดีของกันซึมชนิดนี้คือ ใช้งานง่าย แต่มีข้อจำกัดเรื่องสี กันซึมจะมีสีดำ แล้วควรใช้คู่กับผ้าดิบ

 

        จริงๆแล้วยังมีผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานกันซึมอยู่อีก เช่น เทปกาวบิวทิว , ตาข่ายไฟเบอร์ (FiberMesh) , ยาแนวซิลิโคน , ยาแนวกาวพียู ซึ่งจะขอเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป ในหัวข้อ วัสดุอุดรอยต่อ

 

หากลูกค้าท่านใดสนใจสินค้า ปูนกาว ยาแนว เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง หรือสินค้าอื่นใดที่ทางเรามีจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ 084-1288835

หากท่านคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ ท่านสามารถแชร์บทความนี้ได้เลย

เขียน/เรียบเรียง : https://home1click.com

Engine by shopup.com