ยาแนวอีพ็อกซี่ จระเข้อีพ็อกซี่
07 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 5540 ผู้ชม
กาวยาแนว จระเข้อีพ็อกซี่พลัส
กาวยาแนวอีพ็อกซี่ สำหรับพื้นที่ ที่ต้องการความทนทานและสะอาดเป็นพิเศษ
- สุดยอดกาวปูและยาแนว ให้การยึดเกาะสูง ผิวแกร่ง ทนต่อการขูดขีด
- ทนการกัดกร่อนจากสารเคมีและกรดเข้มข้น
- ป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกฝังลึกในเนื้อยาแนว
- ทนแรงกระแทก แรงดันน้ำ แสงแดด อุณหภูมิสูงถึง 177°C
- ยับยั้งราดำและตะไคร่น้ำด้วยสารไมโครแบน
- ขนาดร่องยาแนว : ผนัง 2-6 มม. / พื้น 2-12 มม
- สีของผลิตภัณฑ์ : 13 สี
- สีมาตรฐาน : สีขาวไข่มุก/สีเทาเงิน/สีเทาแกรนิต/สีดำลิกไนท์/สีอิฐดินเผา/สีเขียวใบเฟิร์น/สีน้ำเงินราตรี/สีครีมงาช้าง/สีครีมเนื้อ/สีฟ้ารุ่งอรุณ
- สีพิเศษ : สีบรอนด์-ทอง/สีบรอนด์-เงิน/สีบรอนด์-ทองแดง
แผงสี ยาแนวจระเข้อีพ๊อกซี่ พลัส
ข้อแนะนำการใช้
อัตราส่วนผสม
- Part A (บน) 1 ถุง ต่อ Part B (ล่าง) 1 ถุง
การผสม
- ผสม Part A และ Part B ให้เข้ากัน ในกรณีใช้เครื่องผสม ควรใช้ความเร็วรอบไม่เกิน 150 รอบต่อนาที(150 rpm)
- หลังผสมแล้วควรกวนหรือปั่นให้เข้ากันอีกครั้งก่อนนำมาใช้งาน
- ควรใช้ให้หมดภายใน 20-30 นาที
การเตรียมพื้นผิว
- ทำความสะอาดร่องยาแนวให้ปราศจากฝุ่น สิ่งสกปรก เศษวัสดุ ไม่ให้มีน้ำขังก่อนที่จะยาแนว
การใช้งาน
- ใช้เกรียงยางปาดยาแนวที่ผสมดีแล้วให้เต็มร่อง โดยทำมุมเฉียงกับแนวร่องเพื่อไม่ให้เกรียงยางไปดึงยาแนวออกจากร่อง ใช้เกรียงยางปาดยาแนวออกจากผิวหน้ากระเบื้องให้มากที่สุด ทำความสะอาดผิวหน้ากระเบื้องทันที ระวังไม่ให้ยาแนวแห้งตัวติดบนผิวหน้ากระเบื้อง
- ทิ้งไว้ 5-10 นาที ใช้ฟองน้ำทำความสะอาดผิวหน้ากระเบื้องด้วยน้ำหรือน้ำผสมน้ำยาล้างจานหลายๆครั้ง จนกว่าจะสะอาด ระวังอย่าให้สะกิดโดนเนื้อยาแนวออกจากร่องกระเบื้อง
- ก่อนเปิดใช้งาน ควรป้องกันผิวยาแนวจากฝุ่นและสิ่งสกปรกอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ทำความสะอาดผิวกระเบื้องด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง
- ยาแนวจะมีคุณสมบัติป้องกันการแทรกซึมของสิ่งสกปรกในเนื้ออย่างสมบูรณ์หลังจากแห้งตัว 7 วัน
ข้อควรระวังในการยาแนว
- ในกรณีผิวกระเบื้องมีลักษณะขรุขระ ไม่เรียบ มีความพรุนสูง ควรทดสอบในพื้นที่เล็กๆหรือเทน้ำยาเคลือบผิวหน้ากระเบื้องก่อนยาแนว
- ควรยาแนวครั้งละประมาณ 1 – 2 ตารางเมตร
- ขณะทำความสะอาด ควรเปลี่ยนฟองน้ำหรือผ้าเพื่อทำความสะอาดผิวหน้ากระเบื้องเสมอ
- หลีกเลี่ยงการยาแนวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16๐C เพราะจะทำให้ยาแนวแห้งตัวช้า
- ไม่ควรใช้งานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 177 ๐C
- ในกรณีใช้งานในสระว่ายน้ำหรือพื้นที่สัมผัสน้ำตลอดเวลา ควรทิ้งระยะให้ยาแนวแห้งตัวอย่างน้อย 7 วัน จึงปล่อยน้ำลงสระ
สินค้าอื่นที่น่าสนใจ
ซีเมนต์ขัดมันสำเร็จรูปLOFT8 LANKO534 อีพ็อกซี่เสียบเหล็ก แลงโก้ 701 ยาแนวอัลตร้า อีพ็อกซี่
ยาแนว สำคัญอย่างไร จะเลือกยาแนวกระเบื้องอย่างไร?
ปฎิเสธไม่ได้ว่า การสร้างบ้านหรืออาคารนั้น เรื่องของโครงสร้าง เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ตั้งแต่หลังคาไล่จนลงมาถึงพื้น ทุกส่วนประกอบล้วนมีหน้าที่และมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในเรื่องของพื้น แน่อนว่าหลายท่านย่อมให้ความสำคัญกับการเลือกกระเบื้องเป็นหลัก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า มีสิ่งเล็กๆอย่างหนึ่ง ที่เจ้าของบ้านหลายท่านยังไม่รู้จัก หรือ อาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่เป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะให้เรื่องความสวยงามแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นบ้านของท่านได้อีกด้วย นั่นก็คือ ยาแนว
ยาแนวหรือกาวยาแนว (Tile Grout) คือตัวช่วยสำคัญที่ทำหน้าที่คู่ไปกับในการปูกระเบื้อง ช่วยทำพื้นบ้านหรืออาคารดูเรียบร้อย สะอาด ซึ่งในปัจจุบันยาแนว ก็มีสีให้ท่านเลือกมากมายหลายเฉด เพื่อให้สามารถกลมกลืนไปกับกระเบื้องลายสวยที่ท่านเจ้าของบ้านได้บรรจงเลือกมาอย่างพิถีพิถัน ยกระดับบ้านหรืออาคารของคุณให้ดูสวยงาม มีคุณค่า มีราคายิ่งขึ้น และนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ยาแนว ยังมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถรองรับการยืดหดตัวของกระเบื้องได้เป็นอย่างดี ช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับพื้นบ้านหรืออาคารของท่านได้อีกด้วย การใช้งาน ยาแนว นั้น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ร่วมกับ ปูนกาวหรือกาวซีเมนต์สำหรับปูกระเบื้อง
เลือกยาแนวที่ใช่ สำหรับงานคุณ
- ยาแนวธรรมดา คือ ยาแนวที่ใช้งานได้ทั่วไป ข้อดีคือ ราคาย่อมเยา แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถป้องกันเชื้อราดำได้ จึงเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีความชื้น เช่น พื้นที่ภายในตัวอาคาร
- ยาแนวกันเชื้อรา คือ ยาแนวที่ป้องกันเชืื้อราดำได้ โดยใส่สารเคมีที่ยับยั้งการเกิดเชื้อราในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นยาแนวชนิดที่มีชื่อเสียงและนิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะกับพื้นที่มีความชื้น เช่น ห้องน้ำ พื้นที่ภายนอกอาคาร ท่านสามารถเลือกซื้อยาแนวชนิดนี้ได้ จากภายในเว็บไซต์ www.home1click.com ในหมวดสินค้า ปูนกาวและยาแนว (ยาแนวจระเข้พรีเมี่ยม ผลัส , ยาแนวเอ็กตร้า 3 พลัส)
- ยาแนวกระเบื้องร่องเล็ก กาวยาแนวประเภทนี้จะมีความเหลวมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการไหลตัวเข้าไปตามร่องกระเบื้อง เหมาะสำหรับงานปูกระเบื้องที่ต้องปูชิดกัน เช่น กระเบื้องแกรนิโต้ โดยการใช้งานนั้นไม่ควรผสมรอไว้ เนื่องจากเป็นยาแนวชนิดแห้งตัวเร็วเป็นพิเศษ(Fast Setting) และหากยาแนวชนิดนี้แห้งตัวแล้ว ไม่ควรใส่น้ำเข้าผสม เนื่องจากจะทำให้ยาแนวมีประสิทธิภาพลดลง ยาแนวที่ขายในท้องตลาด ท่านสามารถเลือกซื้อยาแนวชนิดนี้ได้ จากภายในเว็บไซต์ www.home1click.com ในหมวดสินค้า ปูนกาวและยาแนว( ยาแนวจระเข้เทอร์โบ พลัส)
- ยาแนวสระว่ายน้ำ เป็นกาวยาแนวสำหรับงานปูกระเบื้องสระว่ายน้ำ สปาและซาวน่า เนื่องจากเป็นยาแนวที่รองรับแรงอัดหรือแรงดันได้ดี ทนต่อคลอรีน ท่านสามารถเลือกซื้อยาแนวชนิดนี้ได้ จากภายในเว็บไซต์ www.home1click.com ในหมวดสินค้า ปูนกาวและยาแนว(ยาแนวเวเบอร์ คัลเลอร์ เอช อาร์, ยาแนวสระว่ายน้ำ จระเข้แพลทินัม)
ยาแนวสระว่ายน้ำ จระเข้แพลทินัม
ส่งหน้างานทำสระว่ายน้ำที่ซอยพัฒนาการ 30
5. ยาแนว อีพ็อกซี่ เป็นกาวยาแนวชนิดที่ดีที่สุด เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความทนทานและความสะอาดเป็นพิเศษ ทนต่อสารเคมี เหมาะกับ พื้นโรงงาน สระว่ายน้ำ และเนื่องจากเป็นกาวยาวแนวชนิดพิเศษที่มีราคาค่อนข้างสูง และส่วนผสมค่อนข้างซับซ้อน ในการนำมาใช้งานจึงควรจากเลือกใช้ช่างที่มีประสบการณ์หรือความชำนาญ ท่านสามารถเลือกซื้อยาแนวชนิดนี้ได้ จากภายในเว็บไซต์ home1click.com ในหมวดสินค้าปูนกาวและยาแนว ( กาวยาแนว จระเข้อีพ็อกซี่พลัส , กาวยาแนวอีพ็อกซี่ เวเบอร์คัลเลอร์ พ็อกซี่ , กาวยาแนว เดพโก้ อัลตร้า อีพ็อกซี่)
การเลือกประเภทของยาแนวให้ถูกกับประเภทของงานนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ควรพิจารณาตามรูปแบบการใช้งานจริง เพราะหากใช้ยาแนวผิดประเภทนั้น จะทำให้เกิดการหลุดร่อน และส่งผลทำให้กระเบื้องเกิดความเสียหายได้ ยกตัวอย่างเช่น กระเบื้องที่ปูชิดกัน ร่องกระเบื้องเล็ก เราควรเลือกใช้ ยาแนวกระเบื้องร่องเล็ก ซึ่งหากเลือกใช้ยาแนวธรรมดา มายาแนวร่องกระเบื้อง สุดท้ายยาแนวก็ร่อนออก เนื่องจากยาแนวนั้นไม่สามารถไหลตัวไปตามร่องกระเบื้องได้ เป็นต้น
คำถามที่ได้พบมากคือ กาวยาแนว 1 ถุง ใช้ได้กี่ ตร.ม.? กาวยาแนวทั่วไป 1 ถุง บรรจุ 1 กก. (ถ้าเป็นยาแนวสระว่ายน้ำบรรจุ 4 กก. และ 20 กก.) อัตราการใช้ขึ้นกับขนาดร่องกระเบื้อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 ตร.ม ต่อ 1 กก.
หากลูกค้าท่านใดสนใจสินค้า ปูนกาว ยาแนว เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง หรือสินค้าอื่นใดที่ทางเรามีจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ 084-1288835
หากท่านคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ ท่านสามารถแชร์บทความนี้ได้เลย
เขียน/เรียบเรียง : https://home1click.com