จระเข้ ปลั๊ก
17 กรกฎาคม 2565
ผู้ชม 3704 ผู้ชม
จระเข้ ปลั๊ก
Crocodile Plug
ซีเมนต์แห้งเร็ว อุดน้ำรั่ว (Quick set water plug cement)
จระเข้ ปลั๊ก เป็นซีเมนต์ผสมเสร็จ สามารถทำปฏิกิริยาในน้ำได้ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบเพื่อใช้ในงานซ่อมรอยรั่วที่เร่งด่วนของคอนกรีตในสภาวะที่รับแรงดันน้ำ รอยรั่วที่มีน้ำซึมตลอดเวลาหรืออยู่ใต้น้ำ ปลั๊ก จะก่อตัวอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งประสานและอุดพื้นผิวงาน เพื่อปิดกั้นการไหลของน้ำได้อย่างถาวร ด้วยคุณสมบัติที่ดีในการก่อตัวเร็ว การต้านการหดตัว และแรงยึดเหนี่ยวกำลังสูงของปลั๊ก ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับใช้เป็นมอร์ต้าเพื่อยึดประสานกับเหล็ก (Bolts), เสา (Posts) และเหล็กเดือย (Dowels) ปลั๊ก สามารถใช้กับงานซ่อมถนน, พื้นสะพาน, ห้องทำความเย็น และพื้นผิวอื่นๆที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 32 °F (0 °C) ที่อุณหภูมิดังกล่าวนี้ ผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมหลายชนิดไม่สามารถใช้งานได้ หรือต้องการเวลาในการก่อตัวมากและราคาแพง สำหรับจระเข้ ปลั๊ก ความร้อนที่เกิดขึ้นขณะผสมจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการก่อตัวให้มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดแรงยึดหน่วงระหว่างพื้นผิว เมื่อนำปลั๊กไปใช้ในงานอุดรอยป้องกันน้ำซึม จะมีคุณสมบัติคงทนถาวร ไม่สึกกร่อน หรือเสื่อมคุณสมบัติ ปลั๊ก จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับใช้ปะหรืออุดรอยรั่วในงานห้องใต้ดิน ท่าเรือ เขื่อน เหมือง ท่ออุโมงค์ แท็งค์น้ำ อ่างเก็บน้ำ สระว่ายน้ำ เสาเข็ม กำแพง รอยเขื่อน กำแพงกั้นดิน และงานอื่นๆ
คุณสมบัติเด่นจระเข้ ปลั๊ก
- สามารถก่อตัวและขยายตัวปิดกั้นการไหลของน้ำอย่างรวดเร็ว
- ใช้เวลาก่อตัวเพียง 30 วินาที – 3 นาที
- ใช้งานง่ายเพียงแค่ผสมน้ำ
- สามารถใช้กับงานซ่อมแซมที่อยู่ภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ (< 0 °C)
- ยึดเกาะกับหมุดเหล็กหรือเหล็กเดือย (Dowels) ได้ดี
- สามารถใช้บรรจุน้ำได้หลังจากทำการบ่ม ปลอดภัยสำหรับงานประปาและน้ำดื่ม
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดบริเวณที่ทำการอุดหรือปะ ให้ปราศจากสิ่งสกปรก เช่น น้ำมันหล่อลื่น เศษไม้แบบฝุ่น และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ สำหรับงานใต้น้ำ พื้นที่ที่จะทำการยึดเกาะหรือประสาน ควรปลอดจากตะไคร่น้ำหรือสาหร่าย ทำพื้นผิวงานให้ขรุขระหรือหยาบด้วยแปลงลวด สิ่ว หรืออุปกรณ์อื่นๆ นำเศษคอนกรีตหรือมอร์ต้าที่แตกหักออก ควรขยายหรือเปิดรอยรั่วซึมให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว ทั้งด้านกว้างและลึกเพื่อให้ ปลั๊ก สามารถยึดเกาะและป้องกันแรงดันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเปิดรอยแตกร้าวให้ความลึกมีขนาดมิติมากกว่าด้านกว้าง
หากบริเวณผิวงานไม่เปียกชื้น ให้ราดน้ำหรือแช่น้ำจนเปียกชุ่มอย่างน้อย 15 นาที ก่อนเริ่มนำ ปลั๊ก มาใช้ ยกเว้นในกรณีที่คอนกรีตอยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำกว่า 35 °F (2 °C)
อัตราส่วนผสม
จระเข้ปลั๊ก 4.8 กก. ต่อ น้ำ 1 ลิตร โดยน้ำหนัก หรือ จระเข้ปลั๊ก 4 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 1 ส่วน โดยปริมาตร
การผสม
เมื่อเติมน้ำลงไปแล้วให้ผสมจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปั้นให้มีรูปร่างคล้ายรอยแตก หรือรูโพรงที่จะทำการอุด ควรสวมถุงมือในการทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ทำการผสมไม่ควรเกิน 2 นาที ผลิตภัณฑ์ที่ผสมแล้วหากทิ้งไว้นานเกิน 3 นาที ไม่ควรเติมน้ำเพิ่มหรือนำกลับมาผสมใหม่ อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมในการนำมาใช้ผสมจะอยู่ 70 °F (21 °C) การผสมด้วยน้ำเย็นจะช่วยเพิ่มเวลาในการทำงาน
การใช้งาน
ควรใช้ปลั๊กทันทีที่ผลิตภัณฑ์อยู่ในสภาพหนืด พร้อมทั้งทำการอุดไปตามบริเวณรอยแตก กดหรือเค้นเนื้อผลิตภัณฑ์เข้าไปตามรอยแตกด้วยอุ้งมือ (ที่สวมถุงมือ) เกรียงไม้แต่งปูน หรือวัสดุอื่นที่มีลักษณะแบนเรียบ กดค้างไว้ไม่น้อยกว่า 30 – 60 วินาที ในกรณีที่มีน้ำไหลแรง ให้กดค้างทิ้งไว้ 2 – 3 นาที จากนั้นให้นำปลายของเกรียงขูดลอกวัสดุส่วนเกินที่บริเวณขอบรอยอุดออก
สำหรับรอยรั่ว รอยแตกตามแนว หรือรอยรั่วตามแนวดิ่ง ควรเริ่มทำการอุดจากด้านบนของรอยแตกแล้วไล่ลงสู่ด้านล่าง
สำหรับการใช้หมุดยึด (Anchoring Bolts) และเหล็กเดือย (Dowels) ควรเจาะรูให้ลึก และใหญ่เพียงพอ โดยทั่วไปจะให้มีพื้นที่รอบวัสดุประมาณ ½ นิ้ว (13 มม.) ผสมผลิตภัณฑ์ให้เข้ากัน และอุดลงไปในรูที่ทำการเจาะไว้ หลังจากนั้นนำวัสดุที่จะทำการยึดฝังลงไปในรูที่เตรียมไว้ บ่มหรือให้ความชื้นประมาณ 15 นาทีและหลีกเลี่ยงไม่ให้ได้รับแรงดันที่มากเกินควร ในช่วงเวลา 2 – 3 ชั่วโมงแรก
ข้อควรระวัง
• แนะนำผสมใช้งานในปริมาณเล็กๆ พียงพอในการอุดแต่ละรอบ แล้วผสมใหม่ในการอุดรอบต่อไป ไม่ควรผสมจำนวนมากแล้วแบ่งอุดหลายรอบ เพราะส่วนผสมอาจจะแข็งตัวจนใช้งานไม่ทันในการอุดรอบต่อไป
• ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยต่างๆ เช่น ถุงมือ, หน้ากากกันฝุ่น, แว่นตา ฯลฯ ในกรณีเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งทันที และรีบปรึกษาแพทย์
• ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
*ได้รับอนุญาตให้ใช้รูปภาพสินค้าและข้อมูลสินค้าจากบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว*
เรื่องของกันซึม !!
ผลิตภัณฑ์กันซึมในปัจจุบันนี้พัฒนาไปมาก มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ที่พบมีอยู่ 5 ประเภท
1.กันซึมเบสซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ออกจากโรงงานมาเหมือนถุงปูนทั่วไป การใช้งานคือผสมปูนกันซึมกับน้ำตามอัตราส่วนข้างถุง ผสมให้เข้ากันโดยใช้หัวปั่นก่อนแล้วจึงนำไปใช้ แบ่งได้ 2 แบบ
- กันซึมเบสซีเมนต์ชนิดไม่ยืดหยุ่น ใช้งานด้วยการทาบนพื้นผิว (Coating)บางชนิดมีความสามารถในการตกผลึกแทรกเข้าไปอยู่ตามรอยแตกบนผิวคอนกรีต แต่มีข้อจำกัดตามชื่อเลย คือ ไม่ยืดหยุ่น หากบริเวณพื้นที่ที่นำไปทานั้น มีแรงสั่นสะเทือนมาก ก็จะทำให้ตัวซีเมนต์กันซึมเกิดรอยแครกได้ กันซึมชนิดไม่ยืดหยุ่นปัจจุบันไม่ค่อยพบในตลาดแล้ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาเป็นกันซึมชนิดยืดหยุ่น
- กันซึมเบสซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่น คุณสมบัติทุกอย่างเหมือนกันซึมชนิดไม่ยืดหยุ่น ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ ความยืดหยุ่น สามารถใช้กับทั้งงานโครงสร้างที่มีการสั่นสะเทือน ระเบียง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา ห้องน้ำ ให้การยืดหยุ่นดีและในบางรุ่นสามารถใช้ทาทับบนพื้นผิวกระเบื้องเดิมได้ด้วย มีให้เลือกใช้ 2 แบบ
- แบบ 2 ส่วนผสม (Part A & Part B หรือ 2K) : TOA :237 Cement Membrane , จระเข้ : Flex 2K , LANKO 226 Flex LANKO 225 และ LANKO 228 Super Flex เป็นต้น
- แบบส่วนผสมเดียว (1K) : TOA : Floor Seal & WaterBloc, จระเข้ Flex Shield และ LANKO : 227 Flex Shield เป็นต้น
*งานทำกันซึมดาดฟ้าร้านโกปี๊ เฮี้ยะไถ่กี่ วิสุทธิกษัตริย์ ปูทับด้วยหญ้าเทียม ใช้จระเข้ Flex Shield
*งานทำกันซึม/ทำฐานราก โรงแรมBANGSAK MERLIN RESORT
2.กันซึมเบสของเหลว ง่ายๆเลยคือ เปิดฝาถังมา ใช้ได้เลย เป็นกันซึมสำเร็จรูป มีหลายสี(ขึ้นกับแต่ละยี่ห้อว่าผลิตออกมากี่สี) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- กันซึมอะคริลิค เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ (ส่วนผสมเดียว) ยึดเกาะดี ป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตได้ดี ให้ความยืดหยุ่นสูงกว่าชนิดซีเมนต์ ใช้งานง่าย ทนต่อรังสี UV ได้ดี แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองพบว่า ไม่เหมาะในพื้นที่ที่มีการขังน้ำเป็นเวลานาน(ถ้าน้ำไหลผ่าน ไม่เป็นปัญหา) เนื่องจากความชื้นสะสมดันตัวขึ้นมาทำให้กันซึมพองตัวและหลุดล่อนได้ ผลิตภัณฑ์ที่พบในตลาด เช่น TOA : Roof Seal , จระเข้ : Roof Shield , LANKO : 451 : Sovacryl , LANKO 452 SOVACRYL WALL และ LANKO 401 SOLAR TAC(ตัวนี้มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน)
- กันซึมโพลียูริเทน จะเหมือนกันกับกันซึมอะคริลิค เพียงแต่มีความทนทานและยืดหยุ่นมากกว่า และมีข้อจำกัดเช่นเดียวกันในเรื่องไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีการขังน้ำ และมีราคาสูงกว่า เช่น LANKO 453 POLYURETHANE , จระเข้ อิลาสติก ชิลด์ เป็นต้น
3.น้ำยากันซึม ต้องบอกว่าเป็นระบบกันซึมที่เก่าแก่ที่สุดในบ้านเรา คือ การใช้น้ำยากันซึมเทผสมเข้าไปกับปูนซีเมนต์ตอนทำโครงสร้าง ซึ่งน้ำยากันซึมจะช่วยลดรูพรุนในเนื้อปูน ทำให้น้ำไหลเข้าไปไม่ได้
4. กันซึมแบบเมมเบรน เป็นกันซึมอีกชนิดที่พบเห็นอยู่ เป็นแผ่นยางกันซึม บางเรียกว่า Bitumen เป็นแผ่นยางที่มีความหนา ยืดหยุ่น ทดแดด การติดตั้งต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ การทำกันซึมประเภทนี้ต้องทำความสะอาดพื้นผิวเหมือนเช่นการทำกันซึมทั่วไป แล้วทาน้ำยาพาร์มเมอร์ทั่วพื้นที่ทำหน้าที่เป็นกาวประสานแผ่นเมมแบรน โดยมีระยะทับซ้อน 5-10 ซม. ระหว่างติดตั้งต้องใช้เครื่องพ่นไฟ พ่นไฟลงไปที่แผ่นเมมเบรน
5. แผ่นปิดรอยต่อ หรือเรียกว่า บิวทิล เทป มักเห็นในงานวางครอบกระเบื้องหลังคาหรือใช้ปิดจุดรั่วซึมที่เห็นได้ชัดเจน มักพบบริเวณรอยต่อคอนกรีต
6. ฟลินท์โค้ท เป็นอีกกันซึมชนิดที่อยู่ในบ้านเรามานาน ยางมะตอยอิมัลชั่นสูตรน้ำ สำหรับทาซ่อมอุดรอยแตก หรือทาเคลือบผิวเพื่อป้องกันการรั่วซึม ข้อดีของกันซึมชนิดนี้คือ ใช้งานง่าย แต่มีข้อจำกัดเรื่องสี กันซึมจะมีสีดำ แล้วควรใช้คู่กับผ้าดิบ
จริงๆแล้วยังมีผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานกันซึมอยู่อีก เช่น เทปกาวบิวทิว , ตาข่ายไฟเบอร์ (FiberMesh) , ยาแนวซิลิโคน , ยาแนวกาวพียู ซึ่งจะขอเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป ในหัวข้อ วัสดุอุดรอยต่อ
หากลูกค้าท่านใดสนใจสินค้า ปูนกาว ยาแนว เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง หรือสินค้าอื่นใดที่ทางเรามีจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ 084-1288835
หากท่านคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ ท่านสามารถแชร์บทความนี้ได้เลย
เขียน/เรียบเรียง : https://home1click.com